วันเสาร์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ครั้งแรกกับทริปอาจารย์จิ๋ว 07/07/2553

ทริปนี้เป็นทริปสำหรับวิชาพื้นถิ่น ซึ่งพามาศึกษาดูงานพื้นถื่นที่อยู่ในเขตรอบๆกรุงเทพ ทริปนี้เราออกกันตั้งแต่เที่ยงจนกลับถึงมหาลัยอีกทีก็มืดแล้ว
บ้านทุ่งครุ
เป็นบ้านของชาวบ้านที่อยู่รวมกันเป็นกลุ่มก้อน ซึ่งเป็นญาติพี่น้องกัน ทำอาชีพเหมือนกัน คือเลี้ยงกุ้งเลี้ยงปลา โดยที่ตัวบ้านนั้นเป็นเรือนไม้มุงด้วยหญ้าแฝกแบบดั้งเดิมบางส่วนก็มีการปรับปรุงใช้สังกะสีซ่อมแซมแต่ดูลงตัว พื้นที่ทางเข้าตั้งแต่หน้าบ้านเป็นลานดินปลูกพืชผัก เป็นลานส่งให้ตัวบ้านดูเด่น ต้นพืชเป็นตัวกำหนดทางสัญจรเข้าสู่ตัวบ้าน บ้านแต่ละหลังมีพื้นที่ที่น่าสนใจอีกทั้งยังมีภูมิปัญญาพื้นบ้านในการคิดรายละเอียดเล็กๆน้อยอีก ลักษณะการวางแนวอาคารเกิดเป็นกลุ่มก้อน เกิดพื้นที่เชื่อมต่อกันที่น่าสนใจทีเดียว ทั้งนี้บริเวณใกล้เคียงละแวกนั้น ก็ยังมีบ้านอีกที่น่าสนใจ ซึ่งพื้นที่ภายใน และรูปทรงภายนอกมีการเล่นระนาบที่มีความน่าสนใจเช่นกัน
โรงเรียนรุ่งอรุณ
เป็นโรงเรียนในเครือของสถาบันอาศรมศิลป์ ซึ่งอาศรมศิลป์เป็นผู้ออกแบบทั้งหมด แนวความคิดของการออกแบบโรงเรียนมีความน่าสนใจมาก การวางผังอาคารทั้งหมดเข้ากับบริบทโดยรอบที่มีอยู่ รักษาสภาพสิ่งแวดล้อมได้เป็นอย่างดี พื้นที่ส่วนต่างๆมีความน่าสนใจ จุดเด่นคืออาคารทั้งหมดพยายามอนุรักษ์สิ่งที่เป็นท้องถิ่นเดิมไว้ ให้เห็นถึงเอกลักษณ์ความสำคัญ
ของเรือนสมัยก่อน แต่ก็มีการใช้เทคนิคสมัยใหม่เข้าไปประกอบแต่ไม่ทำให้เสียของเดิม ซึ่งงานที่ออกมาดูลงตัวสวยงามทีเดียว อาคารแต่ละอาคารออกแบบมาให้บรรยากาศเข้ากันกับพื้นที่ใช้สอยซึ่งเหมาะกับลักษณะของวิชาที่เรียน ทางสัญจรต่างๆเชื่อมถึงกันโดยใช้ธรรมชาติมามีส่วนร่วม เกิดพื้นที่ที่มีความสวยงามน่าพักผ่อนตลอดเส้นทาง ทั้งโรงเรียนมีความร่นรื่นด้วยต้นไม้น้อยใหญ่ทำให้อากาศไม่ร้อน ทั้งนี้โรงเรียนนี้เน้นที่จะสอนให้เด็กมีความอดทน มัธยัสถ์ ใช้ชีวิตอย่างรู้คุณค่า ไม่ฟุ่มเฟือย รู้จักวิถีความเป็นอยู่ของคนในสมัยก่อนที่จะทำให้ตนเองมีความสุขได้โดยไม่ต้องใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่มากมาย
สถาบันอาศรมศิลป์
เมื่อก้าวเข้าสู่เขตของสถาบันอาศรมศิลป์ ก็ได้เห็นถึงงานสถาปัตยกรรมที่มีความเป็นท้องถิ่นรวมกับความเป็นงานสถาปัตยกรรมสมัยใหม่เข้าด้วยกัน ด้วยรูปทรงของอาคารที่เป็นจั่วเหมือนสมัยก่อน แต่การจัดพื้นที่ภายใน วัสดุ และเทคนิคเป็นงานผสมผสานระหว่างภูมิปัญญาเดิมกับเทคนิคสมัยใหม่เข้าด้วยกันทำให้อาคารออกมามีความน่าสนใจเป็นอย่างมาก อาคารทั้ง 5 อาคารมีลักษณะเหมือนกัน แต่พื้นที่ใช้สอยไม่เหมือนกัน โดยมีสนามหญ้าอยู่หน้าอาคารทั้งหมด ทำให้เกิดบรรยากาศที่สดชื่นทุกอาคาร อาคารแต่ละอาคารเชื่อมต่อกันด้วยระเบียงนอกชานแบบสมัยก่อนมีพื้นที่นั่งพักผ่อน ภายในของอาคารแต่ละหลังมีการจัดพื้นที่ที่มีความน่าสนใจมากเป็นการนำแนวคิดสมัยใหม่เข้ามาใช้กับงานได้อย่างลงตัว ทั้งนี้การเลือกจะใช้หญ้าแฝกมุงหลังที่สื่อถึงความเป็นท้องถิ่นอย่างชัดเจน แต่มีการแก้ปัญหาด้วยมุงหลังคาใสไว้ภายในซึ่งกันน้ำรั่วได้ดี และอาคารเป็นอาคารที่ค่อนข้างใหญ่ มาตราส่วนต่างๆก็ขยายตามไปด้วย การรับแรงจึงทำไม่ได้ตามแบบโครงสร้างสมัยก่อน จึงมีการใช้โครงสร้างแบบใหม่เข้ามา แต่ไม่ทำให้เกิดความรู้สึกที่ขัดแย้งกันกับบรรยากาศเดิมเลย ซึ่งเห็นได้ว่าเป็นการคิดแก้ปัญหา
ที่ดีและสวยงามลงตัวกับงานที่ออกมา สำหรับที่นี่เป็นที่ที่ทำให้เห็นแนวทางของความเป็นสถาปัยกรรมพื้นถิ่นไทยเราเดิมที่สามารถเดินควบคู่ไปกับสถาปัตยกรรมยุคใหม่ได้ โดยไม่ได้ด้อยไปกว่างานใหม่ๆเลย ทำให้เราได้เห็นถึงคุณค่าของงานสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเราเดิมได้อย่างดี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น